เพราะรักจึงต้องดูแล เช็คให้ชัวร์อาการนี้ “ป่วยทั่วไป” หรือ “สัญญาณเสี่ยงโรคหัวใจ”

24 AUG 2022
share :

โรคหัวใจสุนัข เป็นโรคที่มักไม่แสดงอาการผิดปกติให้เจ้าของได้รับรู้ จนกว่าสุนัขจะป่วยเป็นโรคหัวใจสุนัขไปแล้วระยะหนึ่ง อาการผิดปกติต่าง ๆ จึงจะเริ่มแสดงให้เห็นชัดขึ้น อย่างไรก็ตามอาการเริ่มต้นของโรคหัวใจสุนัขก็มีความคล้ายกับอาการเมื่อสุนัขป่วยทั่วไป แต่จะมีบางอาการที่แตกต่างกัน ดังนั้นเจ้าของจึงควรสังเกตให้ดีว่าอาการที่สุนัขของเรากำลังเป็นอยู่นี้คืออาการป่วยทั่วไปหรือสัญญาณเสี่ยงโรคหัวใจสุนัข

โดยทั่วไปแล้ว อาการหลัก ๆ ที่มักแสดงออกเมื่อสุนัขป่วย คือ สุนัขซึม และสุนัขเบื่ออาหาร ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นอาการที่ไม่สามารถช่วยบ่งชี้ได้ว่าสุนัขป่วยเป็นโรคอะไร เนื่องจากอาการเหล่านี้คืออาการพื้นฐานของการป่วยเกือบทุกโรคในสุนัข และหนึ่งในโรคเหล่านั้นก็รวมถึงโรคหัวใจสุนัขด้วย ไม่ว่าสุนัขจะป่วยทั่วไปหรือป่วยเป็นโรคหัวใจสุนัข แต่เพียงสุนัขมีอาการซึมและเบื่ออาหาร เจ้าของก็ไม่ควรวางใจ และควรสังเกตอาการรวมถึงสังเกตพฤติกรรมอื่น ๆ ต่อไป

การป่วยทั่วไปและโรคหัวใจในสุนัข ยังมีบางอาการที่อาจทำให้เจ้าของสามารถจับสังเกตและแยกความแตกต่าง ที่อาจช่วยบ่งบอกว่าสุนัขป่วยทั่วไปหรือป่วยเป็นโรคหัวใจสุนัขได้ โดยอาการป่วยทั่วไปของสุนัขและอาการโรคหัวใจสุนัข นั้นมีความเหมือนและความต่าง ดังนี้

ตารางเปรียบเทียบอาการ “ป่วยทั่วไป” กับ อาการ “โรคหัวใจสุนัข”
อาการป่วยทั่วไปที่ไม่ใช่โรคหัวใจ อาการโรคหัวใจสุนัข
สุนัขซึม อ่อนแรง สุนัขซึม อ่อนแรง
สุนัขเบื่ออาหาร สุนัขเบื่ออาหาร
สุนัขน้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้น สุนัขน้ำหนักลด
สุนัขอาเจียน สำลัก จาม หรือไอ สุนัขไอ สุนัขไอแห้ง สุนัขไอเรื้อรัง
สุนัขเหงือกบวมแดง เหงือกซีด เยื่อบุต่าง ๆ ของสุนัขซีดหรือคล้ำกว่าปกติ เช่น สุนัขเหงือกซีด สุนัขเยื่อบุตาซีด สุนัขลิ้นซีด
สุนัขท้องเสียหรือท้องผูก สุนัขท้องมาน
สุนัขปัสสาวะลำบาก กะปริดกะปรอย มีเลือดปน สุนัขเหนื่อยง่าย
สุนัขกระหายน้ำหรือกินน้ำบ่อย สุนัขหายใจลำบาก
สุนัขน้ำมูก น้ำตาไหล สุนัขมีขี้ตา ตาขุ่นมัว สุนัขหายใจหอบถี่
สุนัขหูมีกลิ่นเหม็น มีขี้หูเกรอะกรัง สุนัขเป็นลม หมดสติ
สุนัขขนร่วง มีปัญหาผิวหนัง สุนัขเพลีย อ่อนแรง

จากข้อมูลดังตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีหลายอาการที่เป็นอาการแตกต่างระหว่างอาการป่วยทั่วไปและอาการของโรคหัวใจสุนัข โดยอาการของโรคหัวใจสุนัข จุดที่อาจทำให้เจ้าของสามารถสังเกตได้ง่ายที่สุดคืออาการสุนัขไอแห้ง สุนัขไอเรื้อรัง และสุนัขเหนื่อยง่าย สุนัขหายใจหอบถี่ หากสุนัขของท่านมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าสุนัขของท่านมีความเสี่ยงป่วยหรือป่วยเป็นโรคหัวใจในสุนัขแล้ว

เมื่อเจ้าของสังเกตได้ว่าสุนัขมีสัญญาณเสี่ยงของโรคหัวใจสุนัข สิ่งที่ควรรีบลงมือทำที่สุดหลังจากสังเกตอาการผิดปกติได้ คือการพาสุนัขไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ที่คลินิกใกล้บ้านหรือศูนย์โรคหัวใจสุนัข เพื่อให้สุนัขได้รับการวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที เพราะโรคหัวใจในสุนัข ยิ่งปล่อยไว้นาน ยิ่งสร้างอันตรายถึงชีวิต

ในกรณีที่เจ้าของไม่แน่ใจว่าสุนัขของเรามีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคหัวใจหรือไม่ สุนัขมีอัตราการหายใจเท่าไรจึงนับว่าสุนัขหายใจหอบถี่ เจ้าของสามารถเช็กอัตราการหายใจของสุนัขเบื้องต้นด้วยตัวเองง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลด Heart2Heart Application แอปพลิเคชันช่วยนับอัตราการหายใจของสุนัข ช่วยบันทึกผล จัดเก็บประวัติ และยังแจ้งเตือนให้เจ้าของนับอัตราการหายใจให้สุนัขได้อย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังสามารถเรียกดูผลย้อนหลังเพื่อดูความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะช่วยให้การวินิจฉัยโรคของสัตวแพทย์ง่ายขึ้น

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

30 JUN 2022
รู้ได้อย่างไร? ว่าสุนัขของเราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากการเป็นโรคหัวใจในสุนัขตั้งแต่กำเนิด (Congenital heart disease) หรือโรคหัวใจในสุนัขที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired heart disease) เช่น ในสุนัขสูงวัย สุนัขน้ำหนักเกิน อีกทั้งโรคหัวใจยังเป็นโรคประจำสายพันธุ์ของสุนัขในบางสายพันธุ์อีกด้วย แล้วสุนัขของเรามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือไม่? จะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขมีความเสี่ยง?
12 OCT 2023
รักลูกให้ถูกทาง “ให้ยาให้ถูกวิธี” มากไปไม่ได้ น้อยไปไม่ดี แล้วที่ “พอดีและถูกต้อง” ต้องแบบไหน?
หากพาสุนัขไปตรวจวินิจฉัยกับสัตวแพทย์แล้วพบว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การดูแลที่ดีจะช่วยให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีอายุที่ยืนยาวขึ้นได้ โดยเฉพาะการให้ยาโรคหัวใจกับสุนัขอย่างพอดีและถูกต้อง
17 MAY 2021
การปฏิบัติตัวเมื่อพบว่าสุนัขมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
วันนี้จะมาเล่าขั้นตอนการปฏิบัติตัว เมื่อพบว่าสุนัขที่เราเลี้ยงมีอาการแสดงที่บ่งบอกว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ อย่างแรกต้องทำใจดีๆไว้ก่อน อย่าเพิ่งตื่นตระหนก โรคหัวใจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ก็จริง แต่หากเจ้าของสังเกตพบอาการผิดปกติเร็วเท่าไหร่ ก็จะสามารถเริ่มรักษาได้เร็วขึ้นเท่านั้น ซึ่งเท่ากับจะเป็นการช่วยยืดอายุสุนัขให้สามารถอยู่กับเราได้นานขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่