10 สัญญาณเตือน สุนัขของคุณมีอาการเสี่ยงป่วยเป็นโรคหัวใจในสุนัขหรือไม่

17 MAY 2021
share :

‘น้องหมาไอ หมาไอเรื้อรัง หมาไอแห้ง หมาเบื่ออาหาร ซึม’ น้องหมาบ้านใครเป็นแบบนี้บ้าง? หากน้องหมามีอาการเหล่านี้ อาจไม่ใช่อาการสุนัขป่วยธรรมดา แต่น้องอาจป่วยเป็นโรคหัวใจได้ โรคหัวใจถือเป็นโรคในสุนัขที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในสุนัขอายุมาก เมื่อน้องหมาเป็นโรคหัวใจก็จะมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่รู้หรือไม่!! ยิ่งตรวจพบโรคหัวใจเร็ว เริ่มรักษาเร็ว ก็จะยิ่งช่วยยืดอายุของสุนัข และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้

มาเช็กกันเลยว่าสุนัขของคุณมีอาการเสี่ยงเป็นโรคหัวใจในสุนัขหรือไม่

อาการโรคหัวใจในสุนัข มีดังนี้

1. สุนัขไอแห้ง โดยมักจะไอในช่วงเวลากลางคืน

อาการไอเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อย่างไรก็ตาม อาการสุนัขไอแห้งที่มักจะแสดงให้เห็นในเวลากลางคืน และอาการสุนัขไอเรื้อรัง เป็นหนึ่งในอาการแสดงที่สำคัญของโรคหัวใจในสุนัข

2. หายใจลำบาก

อาการที่สังเกตเห็นจะพบสุนัขมีการหายใจเปลี่ยนไป เช่น หายใจถี่ขึ้น หายใจเหนื่อย หายใจตื้นๆ หรือชูคอหายใจ หากอาการมีความรุนแรงมากขึ้น จะพบอาการอ้าปากเพื่อหายใจ และไม่สามารถนอนตะแคงได้ เหมือนน้องหมาหายใจไม่ออก เนื่องจากมีภาวะน้ำท่วมปอด

3. กระวนกระวาย

ไม่ได้พักผ่อน โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน

4. เป็นลมหมดสติ

อาการเป็นลมหมดสติเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยหนึ่งในอาการแสดงของโรคหัวใจในสุนัข ได้แก่ เป็นลมหมดสติ

5. น้องหมาท้องมาน หรือท้องกาง

เนื่องจากมีการคั่งของน้ำในช่องท้อง จึงทำให้เกิดการขยายใหญ่ของช่องท้อง และพบภาวะท้องกางเกิดขึ้น

6. เหนื่อยง่าย อ่อนแรง ไม่ทนต่อการออกกำลังกาย

อาการเหนื่อยง่าย อ่อนแรง ไม่ทนต่อการออกกำลังกายสามารถพบได้เมื่อสัตว์มีอายุมากขึ้น หรือไม่สบาย โดยโรคหัวใจในสุนัขเป็นหนึ่งในโรคที่พบอาการแสดงเหล่านี้

7. สุนัขเบื่ออาหาร ซึม

น้องหมาเบื่ออาหาร หรือมีความอยากอาหารลดลง มักพบได้เมื่อสัตว์มีอาการป่วย ในอาการแสดงของโรคหัวใจในสุนัขมักจะพบการเบื่ออาหารร่วมกับอาการอื่นด้วย เช่น สุนัขไอแห้ง เหนื่อยหอบ

8. การบวมน้ำของเนื้อเยื่อตามร่างกาย

โดยเฉพาะส่วนท้องและปลายเท้า

9. พฤติกรรมบางอย่างผิดปกติไป

อาการแสดงที่มักพบ ได้แก่ น้องหมาซึม ชอบอยู่นิ่งๆ ไม่เล่นกับตัวอื่น

10. น้ำหนักเปลี่ยนไป

น้ำหนักสุนัขจะลดลงในช่วงแรก และจะเพิ่มขึ้นเมื่ออาการแสดงของโรครุนแรงมากขึ้น ซึ่งแสดงถึงการพบภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักจะพบอาการท้องกางร่วมด้วย

หากสุนัขของคุณมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้รีบพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพสุนัขโดยละเอียดที่โรงพยาบาล หรือ ศูนย์รักษาโรคหัวใจใกล้บ้านโดยเร็วที่สุด เพื่อได้รับการรักษาสุนัขป่วยโรคหัวใจได้อย่างทันท่วงที

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

30 JUN 2022
รู้ได้อย่างไร? ว่าสุนัขของเราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากการเป็นโรคหัวใจในสุนัขตั้งแต่กำเนิด (Congenital heart disease) หรือโรคหัวใจในสุนัขที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired heart disease) เช่น ในสุนัขสูงวัย สุนัขน้ำหนักเกิน อีกทั้งโรคหัวใจยังเป็นโรคประจำสายพันธุ์ของสุนัขในบางสายพันธุ์อีกด้วย แล้วสุนัขของเรามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือไม่? จะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขมีความเสี่ยง?
14 JUN 2021
เสียงหัวใจบอกอะไรได้มากกว่าที่คิด
หัวใจถือเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด เนื่องจากทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากหัวใจหยุดทำงาน ก็จะไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ทำให้สัตว์เสียชีวิตได้
21 JUN 2022
อัตราการหายใจ บอกอะไรได้มากกว่าที่คิด.... พร้อมวิธีเช็กการหายใจของสุนัขได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองที่บ้าน
เมื่อสุนัขป่วย อาการที่มักสังเกตได้ชัดเจนคืออาการสุนัขเบื่ออาหาร ซึม ซึ่งอาการเหล่านี้ถือเป็นอาการพื้นฐานของการป่วยหลายโรคในสุนัข แต่นอกจากหลักสังเกตตามอาการข้างต้นแล้ว รู้หรือไม่ว่ายังมีหลักสังเกตอีกหนึ่งอย่าง ที่จะช่วยให้เจ้าของรู้ได้ว่าสุนัขของเรายังมีสุขภาพที่ดีหรือไม่ นั่นคือ “การสังเกตอัตราการหายใจ”
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่