เมื่อรู้ว่าสุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจ-เริ่มต้นดูแลอย่างไรดี

11 MAR 2024
share :

โรคหัวใจในสุนัขเป็นโรคที่ใช้เวลาในการเกิด และในน้องหมาหลายๆ ตัวนั้นอาจไม่ได้แสดงอาการชัดเจน เช่น ไม่ได้มีอาการไอ แต่กลับตรวจพบว่าน้องหมาเป็นโรคหัวใจ จึงทำให้เจ้าของรู้สึกถึงความไม่ทันตั้งตัวและทำตัวไม่ถูกได้ เพราะที่ผ่านมาสุนัขก็ดูปกติ แข็งแรงดี แล้วจะเริ่มต้นดูแลอย่างไรให้เหมาะสม ลองมาดูขั้นตอนการเตรียมพร้อมกัน

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคหัวใจในสุนัข

เมื่อรู้ว่าสุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจ สิ่งแรกที่แนะนำให้ทำคือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโรคจากสัตวแพทย์ หรือค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคหัวใจในสุนัขเพิ่มเติม เพื่อศึกษาว่าโรคหัวใจชนิดที่สุนัขเป็นมีลักษณะแบบใด อาจทำให้เกิดอาการอะไรได้บ้าง เพื่อที่จะได้รู้ถึงวิธีการดูแล สังเกตภาษากายของสุนัขที่บอกถึงความไม่สบายต่างๆ หรือหากเข้าสู่ภาวะฉุกเฉินก็จะมีวิธีแก้และดูแลสุนัขป่วยเบื้องต้นได้ก่อนนำส่งพบสัตวแพทย์ต่อไป

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

และเมื่อเข้าใจถึงโรคหัวใจชนิดที่สุนัขเป็นแล้ว สิ่งถัดมาที่แนะนำคือการอ่านข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับยา เพื่อจะได้ให้อย่างถูกต้อง และทราบถึงผลข้างเคียงของยาแต่ละชนิด ทั้งนี้ยาโรคหัวใจสุนัขควรเป็นยาที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ไม่ควรไปหาซื้อยาเองเนื่องจากไม่ทราบถึงแหล่งที่มา อาจเป็นยาปลอมหรือยาเถื่อน ไม่ผ่านมาตรฐาน ทำให้การควบคุมอาการป่วยไม่ได้ประสิทธิภาพ

จัดสรรแผนการดูแลและพาไปหาหมอ

การดูแลสุนัขป่วยโรคหัวใจ สิ่งสำคัญคือการให้ยาอย่างถูกต้อง ตรงเวลา เคร่งครัดสม่ำเสมอ เจ้าของจึงจำเป็นต้องจัดสรรเวลาให้เหมาะสม หรือหากไม่สะดวกก็ต้องหาคนทำแทน โดยแนะนำให้มีการบันทึกการให้ยาอยู่ตลอด เพื่อป้องกันการขาดยา การให้ยาซ้ำซ้อน และเพื่อเป็นข้อมูลในการวินิจฉัยให้กับสัตวแพทย์ นอกจากนี้ยังควรมีคนอยู่ดูแลน้องหมาอยู่ตลอดเวลา เพื่อคอยติดตามอาการดูความเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ยังควรพาไปหาสัตวแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจเช็กสภาพร่างกายของสุนัขและดูว่าโรคนั้นได้ดำเนินไปถึงขั้นไหนแล้ว หากมีอาการแย่ลงก็จะได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งอาจมีการปรับยา หรือให้ยาเพิ่มเติม ทั้งนี้ความถี่ในการนัดจะน้อยหรือมากนั้นขึ้นอยู่กับสุนัขแต่ละตัว

เรียนรู้วิธีบันทึกอัตราการหายใจ

การทราบอัตราการหายใจของสุนัข ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นให้สัตวแพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยหรือประเมินอาการสุนัข และยังสามารถบ่งบอกความเสี่ยง หรืออาการเกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลวของสุนัขได้ แนะนำแอปพลิเคชัน My Pet’s Heart2Heart app ที่มีฟีเจอร์ที่สะดวกต่อการบันทึกข้อมูลได้แก่

  • บันทึกอัตราการหายใจ พร้อมการแจ้งเตือน: เพื่อเช็กอัตราการหายใจเป็นประจำและได้ประเมินอาการน้องหมาอย่างต่อเนื่อง
  • เรียกดูผลย้อนหลัง: แสดงผลเป็นข้อมูลให้กับสัตวแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย หรือติดตามอาการได้สะดวกมากขึ้น
  • แสดงค่าความผิดปกติ: สามารถเตรียมพร้อมรับมือได้ก่อน จากผลลัพธ์ที่แสดงบนหน้าจอ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีเช็กการหายใจของสุนัขได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองที่บ้าน

ถึงแม้โรคหัวใจในน้องหมาส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ความเข้าใจในโรค วินัยการดูแลของเจ้าของ และการพาไปพบสัตวแพทย์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีอายุขัยที่ยาวนานมากขึ้นได้ หากมีสุนัขตัวอื่นๆ ก็แนะนำให้พาไปตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะการตรวจพบปัญหาโรคหัวใจในระยะแรกจะทำให้เข้ารับการรักษาได้เร็วและดูแลได้อย่างเหมาะสม ส่งผลดีต่อสุนัขในระยะยาว

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch และสามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App เพื่อช่วยในการนับและบันทึกอัตราการหายใจได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ? มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย ๆ พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

30 JUN 2022
รู้ได้อย่างไร? ว่าสุนัขของเราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากการเป็นโรคหัวใจในสุนัขตั้งแต่กำเนิด (Congenital heart disease) หรือโรคหัวใจในสุนัขที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired heart disease) เช่น ในสุนัขสูงวัย สุนัขน้ำหนักเกิน อีกทั้งโรคหัวใจยังเป็นโรคประจำสายพันธุ์ของสุนัขในบางสายพันธุ์อีกด้วย แล้วสุนัขของเรามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือไม่? จะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขมีความเสี่ยง?
29 JUL 2021
โรคพยาธิหนอนหัวใจ ภัยร้ายที่มากับยุง
ใกล้หน้าฝนเข้ามาทุกที วันนี้จะพาไปรู้จักกับโรคพยาธิหนอนหัวใจ ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งในสุนัข ที่มียุงเป็นพาหะนำโรค!!
27 OCT 2021
สุนัขเป็นโรคหัวใจจะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานแค่ไหนกันนะ?
เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าเมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจแล้ว จะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานแค่ไหน? ข้อมูลอ้างอิงจากวารสารทางการแพทย์พบว่า ค่ากลางของกลุ่มสุนัขที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวจากโรคลิ้นหัวใจไมทรัลเสื่อม
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่